Ger'DE Website

การอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (WWI Part 2: Emerging of the war)

การอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (WWI Part 2: Emerging of the war)

หลังจากอุณหภูมิทางการเมืองที่ครุกรุ่นจากเหตุการณ์ที่เราได้เล่าไปในตอนที่แล้ว ทำให้สถานการณ์ภายในพื้นภูมิภาคยุโรปเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลอบปลงพระชนม์เจ้าชายฟรันซ์ เฟอร์ดินันด์ (Franz Ferdinand) แห่งอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งถือเป็นชนวนเหตุที่สำคัญสำหรับการอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยในภาคที่สองของซีรีส์ชุดนี้ จะเป็นการลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

วิกฤติกรกฎาคม 1914: การสังหารเจ้าชายฟรันซ์ เฟอร์ดินันด์ได้นำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการทูต โดยออสเตรีย-ฮังการีได้ยื่นคำขาดต่อเซอร์เบียให้ยินยอมต่อข้อเรียงร้องต่างๆที่มีความเข้มงวดมากขึ้น เช่น มีการเรียกร้องให้เซอร์เบียจัดการกับกลุ่มลัทธิต่อต้านออสเตรียหรือการยุบกองกำลังขวาจัดบางส่วน ซึ่งแม้ว่าเซอร์เบียจะยอมรับและทำตามในข้อตกลงส่วนใหญ่แต่ก็มีอีกหลายข้อที่พวกเขาไม่สามารถยอมรับได้ ซึ่งนั่นได้นำไปสู่การประกาศสงครามของออสเตรีย-ฮังการีเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457)

รูปภาพจาก https://www.iwm.org.uk/history/5-things-you-need-to-know-about-the-first-world-war

การเคลื่อนไหวของกองทัพชาติต่าง ๆ และการประกาศสงคราม: จักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งมีสนธิสัญญาผูกพันกับเซอร์เบีย ได้เริ่มการเคลื่อนกองทัพของตนลงมา ทำให้จักรวรรดิเยอรมนีซึ่งได้คอยหนุนหลังออสเตรีย-ฮังการีอยู่แล้ว ก็สบโอกาศประกาศสงครามกับรัสเซียเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1914 ตามมาด้วยฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย ก็ได้ถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้งโดยอัตโนมัติเมื่อเยอรมนีประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในอีก 2 วันถัดมา

แผนชลิฟเฟน (Schlieffen Plan) ของเยอรมนี: เยอรมนีที่ต้องเผชิญสงครามสองด้าน จึงได้เริ่มดำเนินการตามแผนชลิฟเฟน โดยมุ่งหวังที่จะเอาชนะฝรั่งเศสให้ได้อย่างรวดเร็วโดยเดินทัพผ่านเบลเยียม แล้วจึงหันกลับไปสู้กับรัสเซีย โดยอาศัยการเป็นกลางทางการเมืองของเบลเยียมที่ได้รับการรับรองโดยสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งการรุกรานฝรั่งเศสของเยอรมนีทำให้อังกฤษก็ได้เริ่มประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคมหรือ 2 วันหลังจากที่เยอรมนีประกาศสงครามกับฝรั่งเศส

การขยายตัวของสงคราม: สงครามครั้งนี้ได้ขยายอาณาเขตออกอย่างรวดเร็วออกไปนอกทวีปยุโรป รัฐอาณานิคมต่าง ๆ ถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้งเนื่องจากมหาอำนาจยุโรปใช้รัฐที่อยู่ภายใต้อาณัติทั่วโลกมาสนับสนุนความพยายามในการรบในสงครามครั้งนี้ ซึ่งกินพื้นที่ออกไปในหลายทวีปไม่ว่าจะเป็นแอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก

การทำสงครามของเยอรมนีในแถบแอฟริกาตะวันตก
รูปภาพจาก https://warfarehistorynetwork.com/article/the-hungry-war-german-east-africa-in-world-war-i/

การพัฒนาเทคโนโลยีและรูปแบบการทำสงคราม: สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นสงครามที่รู้กันดีว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงเทคนิคในการรบแบบใหม่เช่น สงครามแบบสนามเพลาะ หรือการใช้ปืนกล รถถังและอาวุธเคมี ถูกนำเข้ามาใช้ในสงคราม ซึ่งการพัฒนาอาวุธเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการทำสงครามที่มีขนาดและความรุนแรงในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

รูปแบบของการทำสงครามแบบสนามเพลาะ
รูปภาพจาก: https://assets.editorial.aetnd.com/uploads/2009/10/world-war-one-gettyimages-90007631.jpg

สงครามของมวลมนุษยชาติ: ความรุนแรงและอาณาเขตของสงครามครั้งนี้ได้ขยายและแผ่วงกว้างมากขึ้น ทำให้มหาอำนาจทุกชาติของโลกในยุคนั้น ได้กระโดดเข้ามาร่วมทำสงครามในครั้งนี้ด้วย ซึ่งได้แก่ จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิออตโตมันและสหรัฐอเมริกาทำให้มันถูกขนานนามว่า สงครามโลก อย่างแท้จริง

การอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น มีลักษณะที่แตกต่างจากความขัดแย้งในครั้งก่อน ๆ ซึ่งในครั้งนี้เป็นผลจากการมัดรวมกันของความตึงเครียดและความขัดแย้งระหว่างประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยี และกลยุทธ์ที่ก้าวร้าว ซึ่งความขัดแย้งระดับโลกนี้ได้เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิรัฐศาสตร์ สังคมและระเบียบโลกไปอย่างสิ่นเชิง ซึ่งในส่วนสุดท้ายของซีรีส์นี้ เราจะไปที่การพัฒนาการต่างๆ หลังการสิ้นสุดของสงคราม บทสรุปและบทวิเคราะห์ของสิ่งที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ทิ้งเอาไว้ ซึ่งได้มากลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งในยุคถัดมา

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง

Natdanai Visithyothin

ภาพรวมทางประวัติศาสตร์ของการรวมชาติเยอรมนี

เยอรมนีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและซับซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านรัฐศาสตร์และการเมือง โดยหนึ่งในฉากที่สำคัญฉากหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติที่เป็นเมืองหลวงของเบียร์ชาตินี้คือการรวมประเทศในปี ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) ที่ประเทศเยอรมนีตะวันออกและตะวันตกได้พบกันอีกครั้ง หลังจากเวลากว่า 4 ทศวรรษที่ถูกแยกจากกัน การรวมประเทศครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่การรวมชาติทางสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ยังเป็นพยานแห่งการแสวงหาเสรีภาพของตนเองในฐานะรัฐเอกราชที่มีอธิปไตยเป็นของตนเอง

Read More »
Natdanai Visithyothin

ทำไมประเทศเยอรมนีถึงเป็นเลิศด้านวิศวกรรม?

เยอรมนีได้รับการยอมรับทั่วโลกในฐานะผู้นำด้านวิศวกรรมและนวัตกรรม แต่อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ประเทศนี้โดดเด่นในวงการนี้? คำตอบอยู่ในการผสมผสานอันลงตัวระหว่างประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และระบบการศึกษา ซึ่งวันนี้ Ger’DE จะมาไขข้อสงสัยกัน รากฐานสำคัญของวิศวกรรมของที่นี่เริ่มต้นจากระบบการศึกษาที่เป็นเอกลักษณ์ของเยอรมนี ที่เรียกว่า

Read More »
Natdanai Visithyothin

ปฐมบทแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 (WW I – Part 1: The Beginning)

ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 พื้นภูมิภาคยุโรปกำลังอยู่ในช่วงที่ร้อนระอุจากอุดมการณ์ความเป็นชาตินิยม การใคร่แสวงหารัฐบริวารและการล่าอาณานิคม การรวมกลุ่มจับขั้วพันธมิตรที่นับวันจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่จะคอยสุมให้ไฟทางการเมืองระหว่างประเทศโหมกระหน่ำจนลามไปถึงการเกิดสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ที่เรารู้จักกันในนามสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บทความนี้จะเป็นตอนที่ 1 ของซีรีส์ชุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่จะเป็นการปูต้นเหตุและชนวนแห่งความขัดแย้งของชาติต่าง ๆ

Read More »