Ger'DE Website

ปฐมบทแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 (WW I – Part 1: The Beginning)

ปฐมบทแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 (WW I – Part 1: The Beginning)

ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 พื้นภูมิภาคยุโรปกำลังอยู่ในช่วงที่ร้อนระอุจากอุดมการณ์ความเป็นชาตินิยม การใคร่แสวงหารัฐบริวารและการล่าอาณานิคม การรวมกลุ่มจับขั้วพันธมิตรที่นับวันจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่จะคอยสุมให้ไฟทางการเมืองระหว่างประเทศโหมกระหน่ำจนลามไปถึงการเกิดสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ที่เรารู้จักกันในนามสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บทความนี้จะเป็นตอนที่ 1 ของซีรีส์ชุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่จะเป็นการปูต้นเหตุและชนวนแห่งความขัดแย้งของชาติต่าง ๆ ที่นำไปสู่สงครามโลกที่ได้คร่าชีวิตผู้คนหลายล้านคน โดยจะแบ่งออกเป็นมูลเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

การสังหารเจ้าชายฟรันซ์เฟอร์ดินันด์: เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) เจ้าชายฟรันซ์ เฟอร์ดินันด์ (Franz Ferdinand) แห่งอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการีถูกลอบปลงพระชนม์โดยกาฟริโล ปรินซิป (Gavrilo Princip) ชายชาวยูโกสลาเวียในเมืองซาราเยโว ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เกิดความขัดแย้งลุกลามบานปลายต่อเนื่องจนทำให้ออสเตรีย-ฮังการีซึ่งในขณะนั้นได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี ได้ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย

รูปภาพจาก: https://hungarytoday.hu/the-assassination-of-franz-ferdinand-the-archduke-who-despised-hungarians/

การจับขั้วมหาอำนาจ: ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มหาอำนาจในยุโรปได้จัดแบ่งตัวเองออกเป็นสองขั้วตรงข้ามหลักได้แก่ ขั้วสามฝ่ายหรือที่เรียกว่า Triple Entente (ฝรั่งเศส รัสเซียและสหราชอาณาจักร) และขั้วพันธมิตรสามชาติ Triple Alliance (เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการีและอิตาลี) โดยสองขั้วพันธมิตรเหล่านี้ได้ร่วมกันสนับสนุนการรบกันในช่วงสงคราม ทำให้สงครามเกิดผลกระทบในวงที่กว้างมากขึ้น

รูปภาพจาก: https://en.wikipedia.org/wiki/Triple_Entente#/media/File:Map_Europe_alliances_1914-en.svg

การใช้กำลังทหารและการแข่งขันด้านอาวุธ: หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง ในช่วงปี ค.ศ.1870 (พ.ศ.2413) ประเทศในแถบยุโรปต่างตกอยู่ในวัฏจักรของการสั่งสมกำลังทหารและการแข่งขันพัฒนาอาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจักรวรรดิเยอรมนีและสหราชอาณาจักร โดยมีอัตราการขยายกองทัพเรือและกองทัพบกของตนเป็นที่น่าตกใจ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการเพิ่มความตึงเครียดและความไม่ไว้วางใจระหว่างประเทศต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

การแข่งขันล่าอาณานิคม: จากข้อที่ 3 สิ่งที่จะแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของแต่ละประเทศก็คือการแข่งขันกันสร้างอาณานิคมในหมู่ประเทศยุโรปที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ไล่ตั้งแต่การแข่งขันกันเพื่อควบคุมพื้นที่บริเวณแถบทวีปแอฟริกาและเอเชีย ซึ้งแม้หลายครั้งจะเป็นเพียงแค่ความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็สามารถสั่งสมความเกลียดชังให้หยั่งรากลึกได้

วิกฤติการณ์คาบสมุทรบอลข่าน: คาบสมุทรบอลข่านถือเป็นหนึ่งในพื้นที่พิพาททางดินแดงที่สร้างของความตึงเครียดระหว่างชาติมหาอำนาจ โดยสงครามบอลข่านทั้งครั้งที่หนึ่งและสอง (ค.ศ.1912-1913) ถือเป็นสัญญาณที่สำคัญของการแสดงถึงความไม่เสถียรของภูมิภาคนี้ ซึ่งได้ลามเป็นความขัดแย้งใหญ่ครั้งใหญ่ในเวลาถัดมา

Blank Check Assurance: การสนับสนุนทางการทหารและการเมืองที่จักรวรรดิเยอรมนีมีต่อออสเตรีย-ฮังการีอย่างไม่มีเงื่อนไข อันเป็นที่มาของคำว่าการรับประกันแบบตีเช็คเปล่า (Blank Check Assurance) ทำให้ออสเตรีย-ฮังการีมีความฮึกเหิมและไม่เกรงกลัวที่จะใช้มาตรการทางทหารกับเซอร์เบีย เพื่อยกระดับสถานการณ์ให้มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ความตึงเครียดในภูมิภาคยุโรปที่ก่อตัวขึ้นทีละขั้น โดยมีปัจจัยและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เราได้กล่าวไว้ในข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลอบปลงพระชนม์เจ้าชายเจ้าชายฟรันซ์ เฟอร์ดินันด์ ที่ถือว่าเป็นชนวนหลักแห่ง ที่ทำให้มีการประกาศสงครามระหว่างชาติต่าง ๆ มากมายและลุกลามไปเป็นการเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งจะมีการเล่าถึงฉากทัศน์หลังจากนี้ในตอนถัดไปของซีรีส์ชุดนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง

Natdanai Visithyothin

สังคมเยอรมนีกำลังเปลี่ยนไป? สาเหตุการประท้วงมากมายที่เกิดขึ้นในขณะนี้

หากใครที่อาศัยอยู่ที่เยอรมนีจะทราบเป็นอย่างดีว่าตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน มีการประท้วงเกิดขึ้นมากมายที่นี่ หลาย ๆ ครั้งนั้นก็กระทบกับการใช้ชีวิตของพวกเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการหยุดเดินรถไฟ การประท้วงที่สนามบิน และอื่น ๆ อีกมากมาย

Read More »
Natdanai Visithyothin

ขาหมูเยอรมันมีกี่แบบกันนะ? พาไปรู้จักขาหมูเยอรมันประเภทต่าง ๆ กัน

เรียกได้ว่าช่วงนี้ กระแสของน้องหมูเด้งมาแรงแซงทางโค้งเหลือเกิน ขนาดผมเองก็ยังเป็น FC ของหมูเด้งเลย น่ารัก น่าเอ็นดู มากๆ และด้วยความที่ตัวของน้องมีมันเลื่อม ๆ

Read More »
Natdanai Visithyothin

ใครอยากได้สัญชาติเยอรมันมาทางนี้! กฎหมายขอสัญชาติเยอรมันใหม่ที่ขอได้ง่ายขึ้น

เมื่อเดือนมิ.ย.67 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรเยอรมนีได้ผ่านกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการแปลงสัญชาติในเยอรมนี โดยเรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูปเพื่อทำให้กระบวนการง่ายขึ้นและน่าดึงดูดมากขึ้นสำหรับชาวต่างชาติ โดยผ่อนคลายข้อกำหนดบางประการและลดอุปสรรค วันนี้ Ger’DE จึงขอมาสรุปภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายต่าง ๆ ว่าจะมีอะไรกันบ้าง

Read More »