Ger'DE Website

ภาพรวมทางประวัติศาสตร์ของการรวมชาติเยอรมนี

ภาพรวมทางประวัติศาสตร์ของการรวมชาติเยอรมนี

เยอรมนีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและซับซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านรัฐศาสตร์และการเมือง โดยหนึ่งในฉากที่สำคัญฉากหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติที่เป็นเมืองหลวงของเบียร์ชาตินี้คือการรวมประเทศในปี ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) ที่ประเทศเยอรมนีตะวันออกและตะวันตกได้พบกันอีกครั้ง หลังจากเวลากว่า 4 ทศวรรษที่ถูกแยกจากกัน การรวมประเทศครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่การรวมชาติทางสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ยังเป็นพยานแห่งการแสวงหาเสรีภาพของตนเองในฐานะรัฐเอกราชที่มีอธิปไตยเป็นของตนเอง

Mauerfall
รูปภาพจาก https://twitter.com/visitberlin/status/1590374935725228036/photo/1

พื้นหลังทางประวัติศาสตร์

หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีถูกแบ่งการปกครองออกเป็นสี่พื้นที่หลักโดยมีผู้ดูแลทั้งสี่ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ในฐานะฝ่ายประชาธิปไตยและสหภาพโซเวียต ซึ่งความตึงเครียดระหว่างผู้สนับสนุนฝ่ายตะวันตกและสหภาพโซเวียตนำไปสู่การแบ่งประเทศเยอรมนีออกเป็นสองประเทศในปี ค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) ได้แก่ สาธารณรัฐเยอรมนี (BRD: Bundesrepublik Deutschland) หรือเยอรมนีตะวันตกและสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (DDR: Deutsche Demokratische Republik) หรือเยอรมนีตะวันออก

ผ้าม่านเหล็ก (Der Eiserne Vorhang)

ความแตกต่างทางอุดมการณ์ระหว่างเยอรมนีตะวันออกและตะวันตกทำให้มีการแบ่งแยกการลักษณะการปกครองที่ชัดเจนและลึกซึ้งมากขึ้น ทำให้มีการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ.1961 (พ.ศ.2504) เพื่อป้องกันการหนีออกของประชาชนเยอรมนีตะวันออกไปยังตะวันตก ช่วงเวลานี้มักถูกเรียกว่า “ม่านเหล็ก” หรือในภาษาเยอรมันคือ der Eiserne Vorhang ซึ่งแยกยุโรปตะวันออกจากตะวันตก

แนวม่านเหล็ก (Der Eiserne Vorhang)
รูปภาพจาก https://www.badische-zeitung.de/der-eiserne-vorhang-per-velo

หนทางสู่การรวมชาติ (Der Weg zur Wiedervereinigung)

ในทศวรรษ 1980 (พ.ศ.2523-2532) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก ด้วยนโยบาย Glasnost และ Perestroika ภายใต้การนำทางของมิฮาอิล กอร์บาชอฟ (Michail Gorbatschow) ทำให้อำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มสลายตัว ทำให้ DDR เกิดความยากลำบากทางเศรษฐกิจและยังผลให้เกิดการประท้วงของประชาชนที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศ

มิฮาอิล กอร์บาชอฟ (Michail Gorbatschow)
รูปภาพจาก https://www.dailysabah.com/world/europe/last-soviet-leader-gorbachev-who-ended-cold-war-dies-aged-92

การรวมชาติอย่างเป็นทางการ (Die formelle Wiedervereinigung)

หลังจากการเจรจาและการเตรียมตัวที่ยาวนาน เยอรมนีกลับมารวมชาติกันอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) ทำให้ประเทศเยอรมนีสองประเทศได้กลับมารวมกันเป็นหนึ่ง และกรุงเบอร์ลินก็ได้กลับมากลายเป็นเมืองหลวงของเยอรมนีอีกครั้ง

การรวมชาติเยอรมนีเป็นกระบวนการทางรัฐศาสตร์การเมืองและการปกครองที่ซับซ้อนและอัดแน่นไปด้วยความรู้สึกที่หลากหลาย เป็นบทเรียนที่ควรค่าให้กับประชาชนเยอรมันและประชาคมโลกยุคหลังได้ศึกษาและตระหนัก ถึงการนำเอาความแตกต่างทางอุดมการณ์ เศรษฐกิจและสังคมมาแข่งขันกันระหว่างมหาอำนาจทั้งสองฝ่าย โดยเอาเสรีภาพของประชาชนมาเป็นตัวประกัน

ประตูบรันเดนบวร์ก (Brandenburger Tor)
รูปภาพจาก https://www.zdf.de/dokumentation/zdfinfo-doku/das-war-die-ddr-aufbruchstimmung-und-enttaeuschung-1949-1961-100.html

แหล่งอ้างอิง

  1. “Germany 1945-1990: A Parallel History” by Yan Morin.
  2. “The Fall of the Berlin Wall: The Revolutionary Legacy of 1989” by Jeffrey A. Engel.
  3. German Federal Agency for Civic Education (Bundeszentrale für politische Bildung)
Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง

Natdanai Visithyothin

เบื้องลึกวัฒนธรรมฟุตบอลเยอรมัน สู่การเป็นมหาอำนาจลูกหนังโลก | โหมโรง EURO2024

ยูโร 2024 ที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพได้เริ่มต้นขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะสำหรับทีมชาติเยอรมัน ด้วยชัยชนะขาดลอย 5-1 เหนือสกอตแลนด์เมื่อคืนที่ผ่านมา โดย Toni Kroos

Read More »
Natdanai Visithyothin

ปฐมบทแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 (WW I – Part 1: The Beginning)

ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 พื้นภูมิภาคยุโรปกำลังอยู่ในช่วงที่ร้อนระอุจากอุดมการณ์ความเป็นชาตินิยม การใคร่แสวงหารัฐบริวารและการล่าอาณานิคม การรวมกลุ่มจับขั้วพันธมิตรที่นับวันจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่จะคอยสุมให้ไฟทางการเมืองระหว่างประเทศโหมกระหน่ำจนลามไปถึงการเกิดสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ที่เรารู้จักกันในนามสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บทความนี้จะเป็นตอนที่ 1 ของซีรีส์ชุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่จะเป็นการปูต้นเหตุและชนวนแห่งความขัดแย้งของชาติต่าง ๆ

Read More »